มาตรฐาน 4 ด้าน เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
มาตรฐาน 4 ด้าน เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
มาตรฐาน 4 ด้าน เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
การก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมมีปัจจัยหลายด้านที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของ “ความปลอดภัย” หรือมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทางผู้ประกอบการต้องศึกษาให้ดี เพื่อป้องกันและเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการควรทราบมีรายละเอียดหลายด้าน ส่วนหนึ่งก็คือ “มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม” เพื่อนำไปสู่การวางระบบและการจัดระเบียบภายในโรงงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความปลอดภัยเบื้องต้นนั่นเองค่ะ
มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน 4 ด้านที่ผู้ประกอบการควรรู้
1. มาตรฐานความปลอดภัยด้านความร้อน
สภาพความร้อนในโรงงาน
ความร้อนภายในโรงงานก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมเช่นกัน ประการแรกเลยคือไม่ควรปล่อยให้อุณหภูมิภายในโรงงานสูงเกินไป กระทั่งส่งผลให้ลูกจ้างมีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส หากลูกจ้างมีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินจากค่านี้ เป็นไปได้ว่าโรงงานนั้นมีระบบการจัดการที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมด้านความร้อน ซึ่งควรได้รับการแก้ไขต่อไปค่ะ
เครื่องมือและมาตรการ
ต่อมาในเรื่องของเครื่องมือและมาตรการจัดการกับความร้อนก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นกันเพราะถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงงานโดยตรง ควรจัดเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ป้องกันความร้อนให้กับลูกจ้างอย่างเหมาะสม มีความสอดคล้องกับการทำงาน นอกจากนี้ควรมีมาตรการจัดการกับความร้อนอย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อุณหภูมิภายในโรงงานสูงจนส่งผลให้อุณหภูมิภายในร่างกายของลูกจ้างมีค่าสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
การพักเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
ระหว่างการดำเนินงาน หากภายในโรงงานเกิดสถานการณ์ที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนกระทั่งส่งผลต่อร่างกายของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างมีอุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส จะต้องมีการจัดให้ลูกจ้างได้หยุดพักชั่วคราวเพื่อให้ร่างกายของลูกจ้างมีการปรับตัวจนกว่าอุณหภูมิในร่างกายของลูกค้าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
การแจ้งเตือนสำคัญ
ภายในโรงงานควรมีการปิดประกาศแจ้งเตือนในจุดที่มีความร้อนสูงจนเสี่ยงอันตรายให้ครบทุกจุด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างเข้าใกล้บริเวณนั้น หรือถ้าหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณนั้น ลูกจ้างก็จะได้กระทำการอย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างจุดที่ควรปิดประกาศแจ้งเตือน เช่น จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจนส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของบุคคล
มาตรการการทำงานเพื่อความปลอดภัย
สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำงานกับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส ทางโรงงานควรกำหนดมาตรการการทำงานชัดเจน ให้มีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย อาทิ การแต่งกายรัดให้กุม การสวมหมวกนิรภัย การสวมหน้ากากกันความร้อน และอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากความร้อน
2. มาตรฐานความปลอดภัยด้านแสงสว่าง
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานยังได้กำหนดเรื่องของแสงสว่างที่เพียงพอต่อการทำงานเอาไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยและการทำงานอย่างราบรื่น ไม่เป็นอันตราย โดยตามความละเอียดในงานนั้น ดังนี้
แสงสว่างสำหรับงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูง
ในส่วนของงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูง มีการกำหนดแสงสว่างที่เหมาะสมตามมาตรฐานคือ ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การบด การขนย้าย หรือการบรรจุ
แสงสว่างสำหรับเก็บวัสดุ
สำหรับพื้นที่ที่ใช้สำหรับเก็บวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นโกดัง คลังสินค้า ห้องเก็บของและวัสดุ เฉลียงและบันไดภายในโรงงาน ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux
แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อย
ในส่วนของงานที่ต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อยในการดำเนินงาน มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 100 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การสีข้าว หรือการผลิตและประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อย่างง่าย
แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดปานกลาง
ในงานที่ต้องใช้ความละเอียดปานกลางเพื่อดำเนินงาน มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 200 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การประกอบชิ้นส่วนภาชนะ การเย็บผ้าหรือการเย็บหนัง
แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง
ในส่วนของานที่ต้องใช้ความละเอียดสูงในการดำเนินงานนั้นควรมีแสงสว่างให้มากเข้าไว้ โดยมีข้อกำหนดเอาไว้ว่า ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 300 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การทดสอบและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การซ่อมแซมเครื่องจักร หรือการกลึงแต่งโลหะ
แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูงมากเป็นพิเศษ
งานลักษณะนี้ต้องใช้แสงสว่างมากที่สุด เนื่องจากความละเอียดสูงมากเป็นพิเศษในการดำเนินงาน จึงมีข้อกำหนดไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 1000 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การเย็บผ้าสีมืดทึบ การประกอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก หรือการเจียระไนเพชร พลอย
แสงสว่างสำหรับพื้นที่ Outdoor
สำหรับพื้นที่ภายนอกอาคาร รวมถึงทางเดินและถนนซึ่งมีแสงสว่างจากธรรมชาติค่อนข้างมากอยู่แล้ว จึงได้มีการกำหนดค่าความสว่างเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 20 Lux เท่านั้นค่ะ
3. มาตรฐานความปลอดภัยด้านเสียง
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานด้านเสียง ได้กำหนดเอาไว้โดยพิจารณาจากระยะเวลาในการทำงาน ได้แก่
เวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน
สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงานโดยมีระยะเวลาในการทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 91 เดซิเบล
เวลาทำงาน 7-8 ชั่วโมง/วัน
สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงาน โดยมีระยะเวลาในการทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 90 เดซิเบล
เวลาทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง/วัน
สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงาน โดยมีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 80 เดซิเบล
เสียงภายในสถานประกอบการ
นอกจากการกำหนดระดับเสียงที่เหมาะสมตามระยะเวลาในการทำงานของบุคคลแล้ว ยังมีการกำหนดระดับเสียงภาพรวมภายในสถานประกอบการด้วยค่ะ ซึ่งตามมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานกำหนดเอาไว้ว่าระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับจะต้องมีค่าไม่เกิน 140 เดซิเบล
4. มาตรฐานความปลอดภัยด้านสารเคมีและอนุภาค
บรรยากาศ
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในเรื่องของสารเคมีและอนุภาค ได้มีการกำหนดเอาไว้ว่าการทำงานของลูกจ้างจะต้องอยู่ภายใต้ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศโดยเฉลี่ยไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
ระยะเวลา
นอกจากในเรื่องของบรรยากาศแล้ว ไม่ว่าลูกจ้างจะทำงานในระยะเวลาใดก็ตามจะต้องอยู่ภายใต้ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศโดยเฉลี่ยไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
บริเวณ
หากบริเวณใดมีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ บริเวณนั้นย่อมไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมในการทำงานของลูกจ้าง
ฝุ่นและแร่
การทำงานของลูกจ้างจะต้องมีปริมาณของฝุ่นและแร่ปะปนอยู่ในบรรยากาศ โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องเกินไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
10 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ชม 3214 ครั้ง